ทำไมต้อง EF (Executive Function) รู้จัก Executive Functions (EF) ศักยภาพสมองที่ทุกคนมีมาแต่เกิด ทักษะสมอง EF (Executive Functions) คือ ชุดกระบวนการคิด ที่ทำงานในสมองส่วนหน้าของเรา ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อข้อมูลจากประสบการณ์ในอดีตเข้ากับปัจจุบัน ทำให้รู้สึกยั้งคิดยั้งใจ ชะลอความอยาก กำกับพฤติกรรมและอารมณ์ของเราได้ ช่วยปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหา วางแผนบริหารจัดการงานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วง
นักวิทยาศาสตร์พบว่า ทักษะ EF ทำให้เราสามารถกำกับควบคุมตัวเองได้ (Self-Regulation) สามารถคิดในระดับสูง (High-Level Cognitive Functions) ได้ดีกว่าสัตว์ นั่นคือ มนุษย์สามารถใช้เหตุและผลได้ ควบคุมสัญชาตญาณและความรู้สึกให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสมได้ สามารถวางแผนและดำเนินการสิ่งยากๆ ได้ พูดได้ว่าทักษะสมอง EF คือสิ่งที่ทำให้มนุษย์เราเป็น “มนุษย์” แตกต่างไปจากสัตว์นั่นเอง
ทักษะสมอง EF ประกอบด้วย 9 ด้าน ได้แก่
• ทักษะการจำเพื่อใช้งาน (Working Memory)
• ทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibition)
• ทักษะยืดหยุ่นความคิด (Shift/Cognitive Flexibility)
• ทักษะควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)
• ทักษะจดจ่อใจใส่ (Focus/Attention)
• ทักษะติดตามประเมินตนเอง (Self-Monitoring)
• ทักษะริเริ่มและลงมือทำ (Initialing)
• ทักษะวางแผนและจัดระเบียบดำเนินการ (Planning and Organizing)
• ทักษะมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)
เราทุกคนก็มีศักยภาพที่จะมีทักษะสมอง EF กันทั้งนั้น แต่ EF ของใครจะแข็งแรงพาให้ชีวิตตัวเองสำเร็จ หรืออ่อนแอจนเป็นปัญหากับชีวิตก็ขึ้นอยู่กับว่า แต่ละคนมีโอกาสพัฒนา EF ได้มาก-น้อยเพียงไร[/vc_column_text][vc_column_text]Reference : 1.EslingerP.J. (1996), Conceptualizing, Describing, and Measuring Components of Executive Function, :A summary. In G.R.Lyon& N. A. Kraasnegor (Eds.), Attention, memory, and executive function. Baltimore : Brookes p.392)
ทักษะสมอง EF คือสิ่งที่ทำให้มนุษย์ เป็น “มนุษย์” ที่แตกต่างจากสัตว์ทั้งหลาย