งานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า เด็กที่มีอิสระในการคิดเอง ทำกิจกรรมเองจะเติบโตเป็นคนที่เรียนรู้ได้ดี มีอนาคตดีกว่าเด็กที่ผู้ใหญ่วางกรอบปฏิบัติให้ทุกอย่าง
จากผลการศึกษาของนักจิตวิทยามหาวิทยาลัยโคโลราโดและมหาวิทยาลัยเดนเวอร์ ที่ศึกษาตารางของเด็กอายุ 6 ขวบจำนวน 70 คน พบว่า หากเด็กต้องรับผิดชอบการตัดสินในด้วยตัวเองในกิจกรรมที่ครูวางกรอบปฏิบัติน้อย เด็กจะเรียนรู้ได้มากกว่าและมีการพัฒนา EF ในด้านการกำกับสั่งการตนเองได้ดีกว่า เด็กที่ครูวางกรอบปฏิบัติทั้งหมด [vc_single_image image=”9730″ img_size=”full”] ที่ใช้ในการกำกับสั่งการตนเอง พัฒนาเป็นอย่างมากในช่วงวัยเด็กเล็ก รวมถึงกระบวนการคิดที่ช่วยให้บรรลุสู่เป้าหมาย เช่น การวางแผน การตัดสินใจ การหยิบใช้ข้อมูล การปรับเปลี่ยนงาน และการยับยั้งความคิดความรู้สึกที่มารบกวน การกำกับทิศทางตนเอง (Self-Directed Executive Functions) นี้จะเป็นตัวชี้วัดความพร้อมในการเรียนและยังทำนายไปถึงความสำเร็จในวัยผู้ใหญ่ เด็กที่มี EF ด้านนี้สูงจะมีสุขภาพดี มีความมั่นคงทางสังคมไปตลอดชีวิต
การวิจัยนี้ ทำโดยขอให้พ่อแม่ช่วยบันทึกกิจกรรมที่ลูกวัย 6 ขวบทำใน 1 สัปดาห์ว่าเด็กใช้เวลาอย่างไรในการทำกิจกรรมที่ผู้ใหญ่กำหนดหรือคอยกำกับทุกอย่าง เช่น ไปเรียนดนตรี ไปทำกิจกรรมชุมชนกับกิจกรรมที่เด็กตัดสินใจ คิดทำเอง นักวิจัยพบว่า เมื่อเด็กเป็นผู้กำหนดว่าจะใช้เวลาในการทำกิจกรรมอะไร อย่างไรด้วยตนเอง เด็กจะสามารถทำชิ้นงานที่จะให้บรรลุเป้าหมายได้มากกว่า และสามารถรู้ได้ว่าหลังจากจบชิ้นงานนี้แล้วจะต้องไปทำงานชิ้นใดต่อไป ยกตัวอย่าง เช่น เด็กคนหนึ่งตัดสินใจที่จะอ่านหนังสือในช่วงบ่ายซึ่งเป็นกิจกรรมที่คุณครูให้เด็กเลือกเอง หลังจากเด็กอ่านเสร็จแล้วก็ไปวาดรูปเกี่ยวกับหนังสือที่อ่าน แล้วนำภาพวาดกลับไปเล่าให้พ่อแม่ฟังที่บ้าน นักวิจัยสรุปว่า เด็กคนนี้ได้เรียนรู้มากกว่าเด็กอีกคนหนึ่งที่ทำกิจกรรมเหมือนกันทุกอย่าง แต่มีครูคอยกำกับบทให้ตลอดกระบวนการ เมื่อครบสัปดาห์ นักวิจัยก็ทดสอบทักษะด้านคำศัพท์และการอ่านผลปรากฏว่า ยิ่งเด็กใช้เวลากับการทำกิจกรรมแบบที่คิดเองทำเองมากเท่าไร คะแนนคำศัพท์กับคะแนนอ่านออกเสียงก็สูงมากเท่านั้น
นักวิจัยชี้ว่า กิจกรรมที่ถูกผู้ใหญ่กำหนดให้ทุกอย่างแล้วนั้น จะทำให้พัฒนาการในการกำกับสั่งการตนเองช้าลง งานวิจัยชิ้นนี้ส่งผลให้นักการศึกษาเห็นความสำคัญของการเล่นอิสระหรือเล่นตามใจชอบ (Free Play) มากขึ้น
ความสามารถในการกำกับสั่งการตนเองนั้นจะทำให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง สามารถทำงานให้ลุล่วงได้ ไม่ว่าสถานการณ์รอบตัวจะวุ่นวายขนาดไหน แตกต่างจากกับเด็กที่ขาดเป้าหมาย ต้องคอยพึ่งพาคนอื่น คอยให้คนอื่นคิดให้หมด
Reference : Jane E. Barker, Andrei D. Semenov, Laura Michaelson, Lindsay S. Provan, Hannah R. Snyderand Yuko Munakata, Less-structured time in children’s daily lives predicts self-directed executive functioning, Original Research ARTICLEFront. Psychol., 17 June 2014