เด็กที่คิดยืดหยุ่นไม่เป็น มักจะอึดอัดคับข้องใจเมื่อเจอสถานการณ์ใหม่ๆ แล้วแสดงพฤติกรรมออกมาให้เห็น เช่น แสดงอาการหงุดหงิด ต่อต้าน เมื่อมีอะไรบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยชิน ปรับตัวยาก
เด็กที่คิดยืดหยุ่นไม่เป็น มักจะอึดอัดคับข้องใจเมื่อเจอสถานการณ์ใหม่ๆ แล้วมักแสดงพฤติกรรมออกมาให้เห็น เช่น แสดงอาการหงุดหงิด ต่อต้าน หรือเมื่อมีอะไรบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยชิน เช่น หงุดหงิดต่อต้านเมื่อของถูกย้ายที่ เมื่อเปลี่ยนอาหาร เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนครูใหม่ หรือแม้แต่เปลี่ยนตารางกิจวัตรประจำวัน ปรับตัวยากเมื่อพบเจอเพื่อนใหม่ สถานที่ใหม่ๆ บางครั้งเป็นปัญหาจนไม่สามารถทำกิจกรรมในชั้นเรียนได้
ความคิดยืดหยุ่น หรือ Cognitive Flexibility จะเริ่มมีการพัฒนาในเด็กวัย 4 ขวบครึ่ง – 5 ปี ช่วงวัยนี้ควรส่งเสริมให้เด็กมีความคิดที่ยืดหยุ่น เปลี่ยนความคิดได้ ไม่ยึดติดกับความคิดเดียว คุณครูทำได้โดยชวนนักเรียนพูดคุยหรือสอนในเรื่องที่เด็กสนใจ เปิดโอกาสให้เด็กซักถามจนพอใจ ตอบคำถามเด็กด้วยความเต็มใจไม่แสดงอาการหงุดหงิดรำคาญ จากนั้นกระตุ้นให้เด็กคิดต่อยอดจากสิ่งที่ได้พูดคุยหรือจะนำเรื่องนั้นๆ ไปประยุกต์ ในสถานการณ์ที่หลากหลาย ฝึกให้เด็กคิดแก้ปัญหาเอง ไม่เข้าไปช่วยทำให้ทุกอย่าง ให้โอกาสเด็กได้มีทางเลือกและคิดตัดสินใจด้วยตัวเอง และคุณครูก็ต้องเป็นแบบอย่างในการมีความคิดยืดหยุ่นด้วย
การที่ครูสังเกตได้เร็วว่านักเรียนคนใดมีความบกพร่องในด้าน Cognitive Flexibility และแก้ไขได้ทันท่วงทีจะช่วยให้เด็กปรับตัวได้ง่ายขึ้น ช่วยลดปัญหาพฤติกรรมต่างๆ ที่จะตามมา มีความพร้อมทางการเรียนมากขึ้นด้วย รู้จักคิดหาหนทางที่หลากหลายในการแก้ปัญหา คิดหาทางเลือก ปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด ปรับเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกด้านลบเป็นบวกได้
“เด็กที่คิดยืดหยุ่นไม่เป็น มักจะอึดอัดคับข้องใจเมื่อเจอสถานการณ์ใหม่ๆ หรือเมื่อมีอะไรบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยชิน แล้วมักแสดงพฤติกรรมออกมาให้เห็น เช่น แสดงอาการหงุดหงิด ต่อต้าน”