นางบุญลักษณ์ อึ้งชัยพงษ์   ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สธจ. กำแพงเพชร

หลังจากได้รับการอบรมความรู้เรื่องทักษะสมองEFศน.บุญลักษณ์ก็สร้างคณะทำงานขับเคลื่อนEF จังหวัดกำแพงเพชรซึ่งประกอบด้วยบุคลากรที่ได้รับการอบรมความรู้ EF มาแล้วเช่นกัน เป็นคณะทำงานที่เข้มแข็ง มีความรู้ความเข้าใจ EF ร่วมกันขับเคลื่อน EF อย่างเข้มแข็ง กระตือรือร้น  ขยายความรู้ EF สู่ครูในจังหวัดกำแพงเพชร ทั้งครูสังกัดสพฐ. ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูโรงเรียนอนุบาล ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียน EF ต้นแบบเกิดการทำ Best Practice เรื่องการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย โดยใช้นวัตกรรมจิตศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF ในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนที่ส่งเสริม EF

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

  • สร้างคณะทำงานขับเคลื่อน EF ระดับจังหวัดที่เข้มแข็งประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ร่วมกับคณะทำงานขับเคลื่อนความรู้ EF สู่เครือข่ายครูกำแพงเพชร สพป.เขต 1 เขต 2 ทั้งโรงเรียนสังกัดท้องถิ่น โรงเรียนเอกชน
  • จัดประชุมอบรมครูผ่าน ZOOM หลักสูตร “ครูปฐมวัยหัวใจใหม่ หัวใจ EF” แก่ครูสพฐ. ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูโรงเรียนอนุบาล
  • สร้างโรงเรียน EF ต้นแบบของจังหวัดกำแพงเพชร คือโรงเรียนทรัพย์สถิตย์วิทยาคาร ผู้บริหารโรงเรียนทำ Best Practice เรื่องการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยโดยใช้นวัตกรรมจิตศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF
  • จัดการต่อยอดความรู้ EF แก่ครูในเรื่องการจัดแผนประสบการณ์เพื่อพัฒนา EF

การสร้าง/ ประสานเครือข่าย

  • ประสานและร่วมขับเคลื่อน EF กับบุคลากรหลายสังกัดทั้งศน.ในจ.กำแพงเพชร ผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏโดยมีอาจารย์ อ.จุฑาทิพย์ โอบอ้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เป็นแกนหลัก
  • ประสานกับนักวิชาการช่วยเสริมความรู้ พัฒนาทีมงานให้เข้มแข็ง เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรให้ความรู้ให้คำแนะนำจนทีมงานมั่นใจแล้วไปขยายผลองค์ความรู้ EF ให้กับครู
  • สื่อสาร ประสานกับศึกษานิเทศก์ในจังหวัดกำแพงเพชร

การติดตาม/ นิเทศ/coaching

  • ร่วมนิเทศการเรียนการสอนในโรงเรียน EF ต้นแบบ

การต่อยอด/ นวัตกรรม/ วิจัย

  • เกิดการทำ Best Practice เรื่องการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยโดยใช้นวัตกรรมจิตศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะสมอง EFในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนที่ส่งเสริม EF

การแก้ปัญหา

  • ศน.ไม่อาจขับเคลื่อน EF ตามลำพัง เพราะจะไม่สามารถสร้างแรงกระเพื่อมขยายความรู้ EF ไปสู่วงกว้างได้ ต้องประสานกับเครือข่าย บุคลากรสังกัดต่างๆ ร่วมกันขับเคลื่อน ซึ่งเทคนิคในการประสานเชื่อมเครือข่ายให้เกิดการขับเคลื่อนที่เข้มแข็งมีดังนี้
  • ประสานกับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาควิชาปฐมวัยที่มีองค์ความรู้ EF ขอให้เป็นแกนหลักในการเสริมความเข้มแข็งทางวิชาการ
  • มีสัมพันธภาพที่ดีกับอาจารย์มหาวิทยาลัยและบุคลากรหลายๆ สังกัดที่ทำงานร่วมกันอยู่
  • ทำงานแบบเอื้ออาทรต่อกัน มีความจริงใจ ให้ความช่วยเหลือกัน เป็นผู้ให้และผู้รับ โดยเป็น “ผู้ให้” ก่อนเสมอ เช่น ลงพื้นที่ช่วยเหลือท้องถิ่นทำให้ทุกฝ่ายเปิดใจยินดีให้ความร่วมมือ
  • ประสานสัมพันธ์กับโรงเรียนเอกชน เมื่อมีความสัมพันธ์ที่ดี ผู้บริหารโรงเรียนจะยินดีเข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่เรียกร้องค่าใช้จ่าย

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

  • โรงเรียน EF ต้นแบบได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัดและรองชนะเลิศระดับภาค