นายวีระพงษ์ พิมพ์กลม ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบะหว้า จ.สกลนคร

ผอ.วีระพงษ์ได้รู้จักเรื่องทักษะสมอง EF จากเพื่อนศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่นซึ่งแนะนำให้เข้าอบรมเรื่องEF กับสถาบัน RLG  แล้วเห็นว่าเรื่อง EF มีความสำคัญมากสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นองค์ความรู้ที่ลึกและกว้างกว่า IQ และ EQ จึงนำมาขยายผลที่โรงเรียน จัดอบรมครูในโรงเรียน ส่งเสริมสนับสนุนครูให้ใช้ความรู้ EF ในการพัฒนาเด็กโดยอาศัยสื่อจากสถาบัน RLG ให้ครูเรียนรู้ และมีศูนย์ EF สกลนครหรือโรงเรียนวิถีธรรมแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเป็นที่ปรึกษา ตัวผอ.เองก็พาครูเรียนรู้ ทำให้ดูเป็นตัวอย่างอีกทั้งจัดอบรมให้ผู้ปกครองรู้เรื่อง EF ด้วยเนื่องจากมีแนวนโยบายให้ครูทำงานร่วมกับผู้ปกครองในการพัฒนาทักษะ EF เด็กเมื่ออยู่ที่บ้าน

           นอกจากนี้ยังเชื่อมประสานกับศพด.ตำบลบะหว้าซึ่งเป็นเครือข่ายกับศูนย์ EF สกลนคร จัดอบรม EF รอบสอง ผ่าน ZOOM ให้แก่ครูโรงเรียนอนุบาลและครูศพด.ตำบลบะหว้า แล้วยังขยายความรู้ EF ไปสู่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร เพื่อให้เกิดเครือข่ายที่จะขับเคลื่อน EF ไปด้วยกันโดยในอนาคตผอ.มีแผนจะจัดอบรมเรื่องการเขียนแผน EF เพื่อให้ครูมีความเข้าใจชัดเจน ปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้นและจะเก็บเกี่ยวประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง EF มาทำงานวิจัย

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

  •  จัดอบรม EF ครั้งแรกแก่ครูโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบะหว้า โดยใช้งบประมาณของโรงเรียน ผอ.เป็นผู้ให้ความรู้ด้วยตัวเองเป็นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของ EF และความรู้ EF พื้นฐานการนำความรู้ EF ไปจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริม EF การเฝ้าสังเกต ประเมินพัฒนาการและ EF เด็กปฐมวัย โดยอาศัยข้อมูลจากเพจและสื่อสิ่งพิมพ์ของสถาบัน RLG
  • นำเสนอผู้บริหารท้องถิ่นให้รับทราบถึงกระบวนการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ความรู้เรื่องทักษะสมอง EF ผู้บริหารเห็นชอบให้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ให้การส่งเสริมและให้ทุนสนับสนุนในการพัฒนาครูอย่างเต็มที่
  • จัดอบรม EF ครั้งที่สอง แก่ครูโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบะหว้าและครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กผ่าน ZOOM เรื่องการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยกับทักษะสมอง EF โดยได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจากโรงเรียนวิถีธรรมแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • จัดอบรมเรื่อง IQ EQ และ EF แก่ผู้ปกครองพร้อมทั้งชี้แจงแนวทางการพัฒนาเด็กของโรงเรียน ได้รับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล

การสร้าง/ประสานเครือข่าย

  • ร่วมมือกับกองการศึกษาซึ่งดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พัฒนาครูอนุบาลและครูศพด.ตำบลบะหว้า ให้ความรู้ EF แก่ครูจำนวน 228 คน
  • ขยายการขับเคลื่อน EF เด็กปฐมวัยไปสู่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง อำเภอวานรนิวาส เพื่อให้มีเครือข่ายเพิ่มขึ้น

การติดตาม/นิเทศ/coaching

  • Coaching และติดตามครู โดย…

     1) คอยให้ความรู้ หาแหล่งข้อมูล ให้คำปรึกษาแก่ครูหลังเลิกเรียนหรือทางไลน์ และมีศูนย์ EF
         สกลนครร่วมเป็นที่ปรึกษา

     2) ให้ครูฝึกเขียนแผนการจัดประสบการณ์แล้วส่งให้ศูนย์ EF สกลนครพิจารณาให้คำแนะนำ ถ้า
         ผ่านการพิจารณาแล้วจะให้ครูเขียนแผนนั้นลงกระดาษชาร์ตแปะในโรงเรียนเพื่อให้เกิดการ
         เรียนรู้ร่วมกัน

     3) ให้ครูเขียน Mind Map แผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริม EFแต่ละสัปดาห์นำเสนอต่อผอ.
         ในช่วงปลายภาคเรียนซึ่งโรงเรียนจะจัดโครงการให้ความรู้กับผู้ปกครอง ก็จะนำ Mind Map
         เหล่านี้พร้อมรูปถ่ายกิจกรรมเรียนรู้ที่ทำตามแผนมาถ่ายทอดให้ผู้ปกครองได้เห็นกระบวนการ
         เรียนการสอนของโรงเรียน

     4) ผอ.พาครูทำ ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง เช่นพานักเรียนไปเรียนรู้ในชุมชน ไปเรียนรู้การเกี่ยวข้าว
        การทำฟาร์มเห็ด ให้ครูจดบันทึกการเรียนรู้ ให้เด็กวาดภาพสิ่งที่ได้เห็นได้สัมผัสได้ทำ แล้ว
        นำเสนอในชั้นเรียน

การต่อยอด/นวัตกรรม/ วิจัย

  • มีแนวนโยบายให้ครูทำงานร่วมกับผู้ปกครองในการพัฒนาทักษะ EF เด็กเมื่ออยู่ที่บ้าน
  • จะจัดอบรมเรื่องการเขียนแผน EF โดยเฉพาะ เพื่อให้ครูเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น  โดยอาศัยข้อมูลและ ตัวอย่างการเขียนแผนจากสื่อของสถาบัน RLG
  • จะเชื่อมประสานกับกองการศึกษา ศูนย์ EF สกลนคร อปท. ขับเคลื่อนความรู้ EF ในพื้นที่ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น และคาดหวังให้มีการรวมตัวขับเคลื่อน EF ระดับจังหวัด
  • จะพยายามขยายเครือข่าย นำความรู้ EF ไปสู่โรงเรียนอื่นๆโดยสื่อสารกับผอ.โรงเรียนอื่นๆ
  • มีความคิดจะทำงานวิจัยเกี่ยวกับ การส่งสริมสมรรถนะครูเพื่อพัฒนาสมองส่วนหน้าของเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลบ้านบะหว้า

การแก้ปัญหา

  • การขับเคลื่อน EF สกลนครยังไม่เป็นการขับเคลื่อนมหภาค ยังไม่ค่อยเกิดการประสานเครือข่ายต่างหน่วยงาน เช่นศธจ.กับอปท.ต้องเชื่อมประสานให้ท้องถิ่นจังหวัดไปร่วมขับเคลื่อนด้วย โรงเรียนสังกัดท้องถิ่นไม่ว่าอบต. เทศบาลจึงจะเข้าร่วมเป็นเครือข่ายได้หรือศน.ต่างเขตพื้นที่ต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานการขับเคลื่อน
  • ครูต้องใช้เวลาในการศึกษาเรียนรู้ ฝึกฝนเรื่อง EFต้องทำความเข้าใจกับครูเป็นระยะๆ ให้ครูมีการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง มีที่ปรึกษาคอยชี้แนะ 

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

  • ตนเองตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะสมอง EF ทั้ง 9 ด้าน รู้สึกภูมิใจที่สามารถถ่ายทอดความรู้ EF ให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยได้ ความรู้ EF ยังทำให้เข้าใจผู้อื่นมากขึ้นด้วย
  • ครูมีความกระตือรือร้นมากขึ้นและเข้าใจเด็กมากขึ้น
  • เด็กมีความตื่นเต้นตื่นตัว สนุกสนานในการเรียนรู้
  • การเรียนการสอนเปลี่ยนไปเป็นแบบ Active Learning มากขึ้น แม้ว่าครูยังขาดความเชี่ยวชาญ