พ่อแม่และคุณครูคือ “นั่งร้าน” ของเด็ก

ในการพัฒนาเด็ก พ่อแม่และคุณครูจะต้องเป็น “นั่งร้าน” ที่ดีให้เด็ก โดยสร้างกิจวัตรประจำวัน เป็นแบบอย่างพฤติกรรมทางสังคม สร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง บนความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกัน

ในการพัฒนาเด็ก สภาพแวดล้อมของเด็กเปรียบเสมือน“นั่งร้าน”ที่จะทำให้อาคารก่อร่างสร้างตัว พ่อแม่ก็คือสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของลูก พ่อแม่จะต้องเป็น “นั่งร้าน” ที่ดีให้ก่อน โดย

สร้างกิจวัตรประจำวันให้ลูก
เป็นแบบอย่างพฤติกรรมทางสังคม
สร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง บนความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกัน
ครูในศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลที่ดูแลเด็กวัย 3-6 ปีก็เปรียบ”นั่งร้าน”ที่มีความสำคัญอย่างมากเป็นผู้ที่จะต้องฝึกฝนคุณลักษณะความสามารถ EF ทั้ง 9 ด้าน ในชีวิตประจำวันของเด็กและในหลักสูตรการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โดย

สร้างกิจวัตรในชีวิตประจำวันที่โรงเรียน
ให้รู้จักรอคอย เข้าคิว
ให้รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองและแสดงออกอย่างเหมาะสม
ฝึกเข้าใจความรู้สึกของตนเอง เพื่อนๆ คนอื่นๆ
มีกิจกรรมที่ได้ฝึกความจำ
ฝึกสมาธิ
ให้เด็กได้มีโอกาสออกไปเผชิญสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ พบคนใหม่ๆ เพื่อนใหม่ๆ
หลีกเลี่ยงของเล่นสำเร็จรูปที่ไม่ช่วยให้เด็กได้คิดค้นแก้ปัญหา
จัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยการลงมือทำด้วยตนเอง (Learning by Doing) ซึ่งในกระบวนการเหล่านี้ จะฝึกการวางเป้าหมาย การจัดลำดับก่อนหลัง ความอดทนพากเพียร การสังเกตเรียนรู้ ขั้นตอนการทำงาน ฝึกคิดหาทางออกใหม่เพื่อแก้ปัญหา
เมื่องานเสร็จแล้ว ให้ฝึกการประเมินผลอย่างง่ายๆ ว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร
ให้กำลังใจเมื่อเด็กทำสำเร็จ

“พ่อแม่และคุณครูจะต้องเป็น “นั่งร้าน” ที่ดีให้เด็ก โดยสร้างกิจวัตรประจำวัน เป็นแบบอย่างพฤติกรรมทางสังคม สร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง บนความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกัน”