Best Practices
Executive Functions
”คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น
อยู่กับคนอื่นเป็นและมีความสุขเป็น”
Best Practice : การนำองค์ความรู้ EF ไปใช้ในการสร้างสรรค์งานของศึกษานิเทศก์ และผู้บริหารสถานศึกษา
การนำองค์ความรู้ EF ไปใช้ในการสร้างสรรค์งานของศึกษานิเทศก์ และผู้บริหารสถานศึกษา
นางสาวปวีณา ธิติวรนันท์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สธจ. สุพรรณบุรี
จากการเข้าอบรม “โครงการอบรมศึกษานิเทศก์และผู้บริหารโรงเรียนเพื่อพัฒนาความรู้ทักษะสมอง EF และการใช้เครื่องมือเพื่อส่งเสริม EF ของเด็กปฐมวัย รุ่นที่ 2” และเข้าร่วมกิจกรรม “โครงการถอดบทเรียนศึกษานิเทศก์และผู้บริหารโรงเรียน” ทำให้...
นางปิยะนุช ไชยสมทิพย์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สธจ. น่าน
เมื่อได้รับความรู้เรื่องทักษะสมอง EF และเห็นความสำคัญของ EF แล้ว ศน.ปิยะนุชจึงคิดขับเคลื่อนความรู้ EF ในจังหวัดน่าน ในขณะเดียวกันก็เป็นหลักในการจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรสังกัดต่างๆ 4 กระทรวง...
นายจิตกร มาแก้ว ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ สพป.ระยอง เขต 1
เดิม ศน.จิตกร มาแก้ว เป็นครูซึ่งได้รับการอบรมครูแกนนำ EF แล้วมาเป็นวิทยากร EF ต้นแบบของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ให้ความรู้ EF แก่ครู ก.ในภาคตะวันออก อบรมครูปฐมวัยทั้งจังหวัด เมื่อมาเป็นศน. ก็เข้าร่วมการขับเคลื่อน EF...
นางอัจจชิญา สงวนศรีพิสุทธิ์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สธจ. ขอนแก่น
ในขณะที่ศน.กฤษณา เป็นผู้นำศธจ.ในการขับเคลื่อน EF จังหวัดขอนแก่น ศน.อัจจชิญา ก็ร่วมทีมสนับสนุน เข้ารับการอบรม EF และเรียนรู้จากเครือข่าย EF ขอนแก่นออนไลน์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้พัฒนาไปด้วยกัน แล้วร่วมทีมศธจ.ขับเคลื่อนความรู้ EF สู่ครูและโรงเรียนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ...
นางบุญลักษณ์ อึ้งชัยพงษ์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สธจ. กำแพงเพชร
หลังจากได้รับการอบรมความรู้เรื่องทักษะสมองEFศน.บุญลักษณ์ก็สร้างคณะทำงานขับเคลื่อนEF จังหวัดกำแพงเพชรซึ่งประกอบด้วยบุคลากรที่ได้รับการอบรมความรู้ EF มาแล้วเช่นกัน เป็นคณะทำงานที่เข้มแข็ง มีความรู้ความเข้าใจ EF ร่วมกันขับเคลื่อน EF อย่างเข้มแข็ง กระตือรือร้น ...
นางอานันท์ปภา ฉลาดเอื้อ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป. สุรินทร์เขต 3
ศน.อานันท์ปภาได้รู้จักเรื่อง EF จากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่ใช้กระบวนการเรียนรู้จิตศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนา EF ให้นักเรียน แล้วเข้าอบรมเรียนรู้ EF เพิ่มเติมกับสถาบัน RLG ต่อจากนั้นได้นำความรู้ EF มาขยายผลกับระดับชั้นปฐมวัยของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)...
นางเอมอร รสเครือ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ จ.กาญจนบุรี (ข้าราชการเกษียณ)
แม้จะเกษียณราชการมา 10 ปีแล้ว ศน.เอมอรยังคงทำงานอยู่ในแวดวงการศึกษาปฐมวัยร่วมกับกลุ่มครูกลุ่มเล็กๆ ที่ทำงานด้วยใจ โดยไม่มีงบประมาณสนับสนุนด้วยความสนใจใคร่รู้เรื่องทักษะสมอง EF ศน.เอมอรเข้ารับการอบรมเรื่องทักษะสมอง EF กับสถาบัน RLG ที่ลำปาง...
นายพงษ์พันธุ์ ไชยบุญเรือง ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป. เชียงราย เขต 4
ศน.พงษ์พันธุ์ ไชยบุญเรือง เริ่มสนใจเรื่องทักษะสมอง EF จากสื่อ (กล่องล้อมรัก) ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.)จัดมอบให้แจกตามโรงเรียน ต่อมาเข้ารับการอบรมเรื่อง EF กับสถาบัน RLG ที่จัดอบรมให้ครู...
นายวีระพงษ์ พิมพ์กลม ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบะหว้า จ.สกลนคร
ผอ.วีระพงษ์ได้รู้จักเรื่องทักษะสมอง EF จากเพื่อนศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่นซึ่งแนะนำให้เข้าอบรมเรื่องEF กับสถาบัน RLG แล้วเห็นว่าเรื่อง EF มีความสำคัญมากสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นองค์ความรู้ที่ลึกและกว้างกว่า IQ และ EQ จึงนำมาขยายผลที่โรงเรียน จัดอบรมครูในโรงเรียน...
" เราเห็นว่าประสบการณ์ในช่วงปฐมวัย มีความสำคัญเพียงไรต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาตลอดชีวิต ทั้งเห็นสภาพแวดล้อมในช่วงปฐมวัยได้ฝังลงใน "สมองของเด็ก" และเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสมองไปอย่างไร "